หลักสูตร การฝึกอบรม จป. ตามกฎหมายใหม่ 2566 จป หัวหน้างาน จป บริหาร

by admin
852 views
หลักสูตร การฝึกอบรม จป. ตามกฎหมายใหม่ 2566 จป. หัวหน้างาน จป. บริหาร

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรม คุณสมบัติวิทยากร และการดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับหัวหน้างาน และ ระดับบริหาร

โดยที่ กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ ข้อ ๔๓ กำหนดให้นายจ้างหรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมดำเนินการฝึกอบรมเพื่อให้ลูกจ้างมีคุณสมบัติ เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหาร ทั้งนี้ หลักสูตร การฝึกอบรม คุณสมบัติของวิทยากร และการดำเนินการฝึกอบรมของนายจ้างหรือผู้ให้บริการ ด้านการฝึกอบรมให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔๓ วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

หมวด ๑ หลักสูตรการฝึกอบรม

ข้อ ๒ หลักสูตร จป.หัวหน้างาน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระยะเวลา การฝึกอบรมสิบสองชั่วโมง ประกอบด้วย ๔ หมวดวิชา ดังต่อไปนี้

(๑) หมวดวิชาที่ ๑ ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน และบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระยะเวลา การฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

(ข) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน

(๒) หมวดวิชาที่ ๒ กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกระทรวงแรงงาน

(ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน และการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ

(๓) หมวดวิชาที่ ๓ การค้นหาอันตรายจากการทำงานและการจัดทำคู่มือว่าด้วย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) การตรวจความปลอดภัย

(ข) การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย

(ค) การสอบสวน การวิเคราะห์ และการรายงานอุบัติเหตุ

(ง) การจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของหน่วยงาน

(๔) หมวดวิชาที่ ๔ การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรม สามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร

(ข) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า

(ค) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ

(ง) การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ

(จ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน

(ฉ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี

(ช) การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์

(ซ) การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง

(ฌ) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

ข้อ ๓ หลักสูตร จป.บริหาร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ระยะเวลาการฝึกอบรม สิบสองชั่วโมง ประกอบด้วย

๓ หมวดวิชา ดังต่อไปนี้

(๑) หมวดวิชาที่ ๑ ความรู้เกี่ยวกับการบริหาร จัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ระยะเวลาการฝึกอบรม สามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) ความรู้เกี่ยวกับการบริหาร จัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน

(ข) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร

(๒) หมวดวิชาที่ ๒ กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกระทรวงแรงงาน

(ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน และการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ

(๓) หมวดวิชาที่ ๓ ระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรมหกชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) แนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน

(ข) ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานของกระทรวงแรงงาน

(ค) ระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของมาตรฐานประเทศไทยและสากล

(ง) การประยุกต์ใช้ระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน

หมวด ๒ คุณสมบัติของวิทยากร

คุณสมบัติของวิทยากร

ข้อ ๔ วิทยากรผู้ทำการฝึกอบรมต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(๑) เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหมวดวิชา ที่บรรยาย มีประสบการณ์ในการทำงานด้านความปลอดภัยในการทำงานติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี และมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่าสามปี ทั้งนี้ การนับระยะเวลาห้าปีหรือสามปีดังกล่าวให้นับจากปีที่ขอความเห็นชอบหรือขอรับการรับรอง

(๒) เป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีในสาขา ที่เกี่ยวข้องกับหมวดวิชาที่บรรยาย และมีประสบการณ์การสอนด้านความปลอดภัยในการทำงาน ไม่น้อยกว่าสามปีนับจากปีที่ขอความเห็นชอบหรือขอรับการรับรอง

(๓) เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาในการ เป็นวิทยากรฝึกอบรมที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ในการทำงาน ด้านความปลอดภัยในการทำงานติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี และมีประสบการณ์การเป็นวิทยากร ด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่าสามปี ทั้งนี้ การนับระยะเวลาห้าปีหรือสามปีดังกล่าว ให้นับจากปีที่ขอความเห็นชอบหรือขอรับการรับรอง

(๔) เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และมีความรู้ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ หมวดวิชาที่บรรยาย ทั้งนี้ ต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านความปลอดภัยในการทำงานติดต่อกัน ไม่น้อยกว่าห้าปี และมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่าสามปี

หมวด ๓ การจัดฝึกอบรมของผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรม

ข้อ ๕ ผู้ให้บริการ ด้านการฝึกอบรม ประสงค์ที่จะจัดฝึกอบรมต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

(๑) เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการให้บริการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และต้องได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่รับรองระบบบริหารงานคุณภาพ หรือ

(๒) สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) หรือ

(๓) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือเอกชน และต้องมีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา จากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่ประเมิน ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา หรือ

(๔) เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

ข้อ ๖ ให้ผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมที่มีคุณสมบัติตามข้อ ๕ ยื่นคำขอต่ออธิบดี พร้อมด้วย รายชื่อวิทยากร และเอกสารตามแบบ กภ.จป.นบ ๑ แนบท้ายประกาศนี้ ณ กองความปลอดภัยแรงงาน หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือยื่นด้วยตนเอง ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด

ข้อ ๗ เมื่อผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรม ได้ยื่นเอกสารหรือหลักฐานเพื่อขอรับรองหลักสูตร การฝึกอบรมและรายชื่อวิทยากรถูกต้องและครบถ้วน ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายออกหลักฐาน การรับรองหลักสูตรการฝึกอบรมและรายชื่อวิทยากรของผู้ยื่นคำขอภายในหกสิบวัน การออกหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบ กภ.จป.นบ ๒ และออกได้คราวละ สามปีนับแต่วันที่ได้รับการรับรอง ในกรณีที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเห็นว่าผู้ยื่นคำขอขาดคุณสมบัติตามข้อ ๕ หรือเอกสารหรือหลักฐานตามข้อ ๖ ไม่ถูกต้องและครบถ้วน ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายแจ้ง ให้ผู้ยื่นคำขอทราบทันทีหรือภายในไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ หากผู้ยื่นคำขอไม่แก้ไข หรือไม่ส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ให้ถือว่าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์ที่จะให้ดำเนินการ ตามคำขอต่อไป และให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ ในกรณีเช่นนี้ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ส่งเอกสารคืนผู้ยื่นคำขอ พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งสิทธิในการอุทธรณ์ให้ผู้ยื่นคำขอทราบ

ข้อ ๘ การขอต่ออายุการรับรองหลักสูตรการฝึกอบรมและรายชื่อวิทยากรของผู้ให้บริการ ด้านการฝึกอบรม ให้ยื่นคำขอไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันที่การรับรองจะสิ้นสุด และให้นำความในข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ มาใช้บังคับแก่การยื่นคำขอต่ออายุการรับรองโดยอนุโลม เมื่อยื่นคำขอต่ออายุการรับรองแล้ว ให้ผู้ได้รับการรับรองดำเนินการต่อไปได้จนกว่าอธิบดี จะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุการรับรองนั้น การต่ออายุการรับรองหลักสูตรให้มีอายุคราวละสามปีนับแต่วันที่การรับรองเดิมสิ้นสุด ข้อ ๙ ในกรณีที่เอกสารการรับรองสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ยื่นคำขอใบแทนการรับรองต่ออธิบดีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ดังกล่าว

ข้อ ๑๐ ในกรณีผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองตามข้อ ๗ มีการเปลี่ยนแปลง วิทยากร บุคลากรซึ่งทำหน้าที่บริหารจัดการการฝึกอบรม สถานที่ตั้ง หรือมีการเปลี่ยนแปลงอื่นใด จากที่ได้ยื่นขอการรับรองไว้ ให้แจ้งเป็นหนังสือ พร้อมส่งเอกสารแสดงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่ออธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

การดำเนินการฝึกอบรม

หมวด ๔ การดำเนินการฝึกอบรม

ข้อ ๑๑ ให้นายจ้างหรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรม ดำเนินการจัดฝึกอบรมตามหลักสูตร ในหมวด ๑ และจัดให้มีวิทยากรที่มีคุณสมบัติตามหมวด ๒

ข้อ ๑๒ ให้นายจ้างหรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมดำเนินการ ดังนี้

(๑) กรณีนายจ้างให้แจ้งกำหนดการฝึกอบรม หลักสูตรการฝึกอบรม รายชื่อผู้เข้ารับ การฝึกอบรม พร้อมรายชื่อและคุณสมบัติวิทยากร และเอกสารหรือหลักฐานตามข้อ ๑๒ (๘) ต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงานจังหวัดเพื่อให้ความเห็นชอบไม่น้อยกว่าสิบห้าวันท าการก่อนการจัดฝึกอบรม ทั้งนี้ อาจแจ้ง ด้วยตนเองหรือผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานก็ได้

(๒) กรณีผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมเป็นผู้จัดฝึกอบรม ให้แจ้งกำหนดการฝึกอบรม หลักสูตร การฝึกอบรม รายชื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม พร้อมรายชื่อและคุณสมบัติวิทยากร และเอกสารหรือ หลักฐานตามข้อ ๖ ณ กองความปลอดภัยแรงงาน ไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทำการก่อนการจัดฝึกอบรม ทั้งนี้ อาจแจ้งด้วยตนเองหรือผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานก็ได้

(๓) จัดให้ห้องฝึกอบรมหนึ่งห้องมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินหกสิบคน

(๔) จัดให้มีคู่มือประกอบการฝึกอบรม จัดเตรียมอุปกรณ์ สื่อและเอกสารประกอบการฝึกอบรม และสถานที่ที่ถูกสุขลักษณะให้มีความพร้อมใช้งานตลอดเวลาที่มีการดำเนินการ

(๕) จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม เข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตร

(๖) จัดให้มีการประเมินผลทั้งก่อนและหลังการฝึกอบรม

(๗) ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรมให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยมีรายละเอียด อย่างน้อย ดังนี้

(ก) ชื่อหน่วยงานที่ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรม พร้อมระบุข้อความว่า “จัดฝึกอบรมโดยนายจ้าง ” หรือ “จัดฝึกอบรมโดยผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมที่ได้รับการรับรอง หลักสูตร เลขที่ …”

(ข) ชื่อและนามสกุลของผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม

(ค) ชื่อหลักสูตรที่ผ่านการฝึกอบรม ให้ระบุข้อความ ดังนี้ “หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ตามข้อ ๔๓ แห่งกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๑๒ ชั่วโมง ” หรือ “หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ตามข้อ ๔๓ แห่งกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือ คณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๑๒ ชั่วโมง ” แล้วแต่กรณี

(ง) ระบุสถานที่ในการฝึกอบรม

(จ) ระบุวัน เดือน และปี ที่เข้ารับการฝึกอบรม

(ฉ) ลงนามโดยนายจ้างหรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรม แล้วแต่กรณี

(๘) จัดให้วิทยากรได้รับการฝึกอบรมหรือมีการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มเติมปีละไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง

ข้อ ๑๓ นอกจากดำเนินการตามข้อ ๖ แล้ว ผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้

(๑) จัดทำค่าบริการที่กำหนดรายละเอียดของค่าใช้จ่ายในการให้บริการเสนอต่อผู้รับบริการ ก่อนการให้บริการ โดยค่าบริการที่ผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมจะเรียกเก็บให้คำนวณจากค่าใช้จ่าย ในการให้บริการของผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมรวมกับค่าตอบแทนที่ผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมได้รับจากการให้บริการ ซึ่งค่าตอบแทนดังกล่าวต้องไม่เกินหนึ่งเท่าของจำนวนค่าใช้จ่ายในการให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการให้บริการ หมายความถึง ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนในการให้บริการ เช่น ค่าตอบแทนบุคลากร ค่าวัสดุ อุปกรณ์ หรือสถานที่ในการให้บริการ และค่าใช้จ่ายอื่นใดของผู้ให้บริการ ด้านการฝึกอบรม

(๒) ไม่เปิดเผยความลับของผู้รับบริการซึ่งล่วงรู้หรือได้มาจากการให้บริการ

ข้อ ๑๔ ให้นายจ้าง หรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมส่งรายงานผลการฝึกอบรม รายชื่อผู้ผ่าน การฝึกอบรม และรายชื่อวิทยากร ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการฝึกอบรม ณ กองความปลอดภัย แรงงาน หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือยื่นด้วยตนเอง ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ตามแบบ กภ.จป.นบ ๓

ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรม ฝ่าฝืนหรือไม่ด าเนินการตามข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ และ

ข้อ ๑๔ อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายอาจเพิกถอนการรับรองหลักสูตรการฝึกอบรม และรายชื่อวิทยากร

เรื่องที่น่าสนใจ

เซฟตี้ .COM ผู้ให้บริการครบวงจรด้านความปลอดภัยในการทำงาน อบรมความปลอดภัย และ ตรวจรับรองวิศวกรรมในโรงงานอุตสาหกรรม

เพิ่มเพื่อน

Copyright @2024  เซฟตี้.com . Developed website and SEO by iPLANDIT