779
หลักสูตรการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด
หลักสูตร |
ชื่อกฎหมาย |
รายละเอียดการอบรม |
1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน – อบรม จป.หัวหน้างาน – อบรม จป.บริหาร – อบรม จป.เทคนิค |
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานพ.ศ. 2549ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน | สำหรับลูกจ้างระดับหัวหน้างาน และลูกจ้าง ระดับบริหารทุกคนและสำหรับลูกจ้างที่ได้รับ การแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย เพื่อปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย ประจำสถานประกอบกิจการ |
2. คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2549 |
สำหรับคณะกรรมการฯ ที่ได้รับแต่งตั้ง หรือเลือกตั้งใหม่ โดยให้อบรมภายใน 60 วัน หลังจากได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง |
3. อันตรายและวิธีการป้องกันอันตรายจากรังสีก่อนเข้ารับหน้าที่ สำหรับลูกจ้างที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสี | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออนพ.ศ. 2547และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการอบรมความปลอดภัยในการทำงานในการป้องกันอันตรายจากรังสี |
สำหรับลูกจ้างที่จะปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสี โดยให้อบรมก่อนเริ่มงาน |
4. วิธีการใช้และการบำรุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลสำหรับลูกจ้าง | กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร และการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2549 | กรณีที่บริษัทฯจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย ส่วนบุคคลเพื่อป้องกันอันตรายจากความร้อน แสงสว่าง และเสียงดังให้แก่ลูกจ้าง |
5. ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง เช่น การใช้เครื่องจักรรหัสสัญญาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับลูกจ้าง | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 | สำหรับลูกจ้างที่ต้องทำงานก่อสร้างโดยให้ อบรมเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสม |
6. การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ควบคุมงาน | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างพ.ศ. 2551 | สำหรับผู้ควบคุมงาน ที่ควบคุมการทำงาน ของลูกจ้างที่เข้าไปทำงานในรูเจาะ รูขุด หลุม บ่อ คู หรือพื้นที่อื่นที่มีลักษณะเดียวกัน ซึ่งมีความลึกตั้งแต่ 2 เมตร ขึ้นไป |
7. การใช้เครื่องตอกเสาเข็มและการใช้สัญญาณสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานในการตอกเสาเข็ม | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 | สำหรับลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่บังคับเครื่องตอก เสาเข็ม |
8. ความปลอดภัยในการใช้เครื่องจักรและปั้นจั่นในงานก่อสร้าง | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 | สำหรับลูกจ้างที่ทำงานกับเครื่องจักร และปั้นจั่นในงานก่อสร้าง |
9. วิธีทำงานในอุโมงค์และวิธีป้องกันอันตรายแก่ลูกจ้าง | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างพ.ศ. 2551 | สำหรับลูกจ้างก่อนเข้าทำงานในอุโมงค์ และอบรมทบทวนหรือเพิ่มเติมเป็นประจำ ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง |
10. ฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินกรณีเกิดภัยจากธรรมชาติ สำหรับงานก่อสร้างในน้ำ | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างพ.ศ. 2551 | สำหรับลูกจ้างที่ทำงานก่อสร้างในน้ำ |
11. ขั้นตอนและวิธีการรื้อถอนทำลายสิ่งก่อสร้าง | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 | สำหรับลูกจ้างที่ต้องทำการรื้อถอนทำลาย สิ่งก่อสร้าง โดยอบรมก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงาน |
12. การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลสำหรับงานก่อสร้าง | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างพ.ศ. 2551 | สำหรับลูกจ้าง ก่อนเริ่มใช้งานอุปกรณ์ PPE |
13. การทำงานเกี่ยวกับเครื่องปั๊มโลหะ เครื่องเชื่อมไฟฟ้า เครื่องเชื่อมก๊าซ รถยก หรือเครื่องจักรที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้โดยสภาพ | กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 | สำหรับลูกจ้างที่ทำงานกับเครื่องจักร และเครื่องมือที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้โดยสภาพ เพื่อให้มีการชำนาญในการใช้เครื่องจักร |
14. ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น | กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อน้ำ พ.ศ. 2552ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุหรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554 | สำหรับลูกจ้างที่ปฏิบัติงานเป็น ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น |
15. ทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น | กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อน้ำ พ.ศ. 2552ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่นผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุหรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่นและการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นพ.ศ. 2554 | สำหรับลูกค้าที่อบรมเป็นผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และทำงานมาแล้ว 2 ปี หรือ โรงงานมีสถิติอุบัติเหตุสูงขึ้น หรือเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงเกี่ยวกับปั้นจั่น ในสถานที่ทำงานหรือเมื่อมีการนำปั้นจั่น ชนิดหรือลักษณะที่แตกต่างจากเดิมมาใช้งาน |
16. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการอนุรักษ์การได้ยินความสำคัญของการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน อันตรายของเสียงดัง การควบคุมป้องกันและการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการพ.ศ. 2553 | สำหรับลูกจ้างที่ทำงานในบริเวณที่มี ระดับเสียงดังที่ได้รับเฉลี่ยตลอดระยะ เวลาการทำงาน 8 ชม. ตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอ ขึ้นไป และลูกจ้างที่เกี่ยวข้องในสถาน ประกอบกิจการ |
17. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างระดับบริหาร
|
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างานและลูกจ้างด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน | สำหรับลูกจ้างระดับบริหารของสถาน ประกอบกิจการที่ไม่ได้อยู่ใน 14 ประเภท ตามที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน ในการบริหารและการจัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 กำหนด |
18. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างระดับหัวหน้างาน |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างานและลูกจ้าง ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน | สำหรับลูกจ้างระดับหัวหน้างานของสถาน ประกอบกิจการที่ไม่ได้อยู่ใน 14 ประเภท ตามที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการ บริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ ทำงาน พ.ศ. 2549 กำหนด |
19. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ 6 ชม | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างานและลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน | สำหรับลูกจ้างใหม่ โดยให้อบรมก่อนเริ่มงาน และลูกจ้างทั่วไป |
20. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างเปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงแตกต่างไปจากเดิม | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างานและลูกจ้าง ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน | สำหรับลูกจ้างที่เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยน สถานที่ทำงาน หรือโรงงานมีการ เปลี่ยนแปลงเครื่องจักร อุปกรณ์ที่ แตกต่างไปจากเดิม โดยให้อบรม ก่อนเริ่มงานนั้นๆ |
21. การป้องกันและระงับอัคคีภัย การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการดับเพลิง การปฐมพยาบาล และการช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน | กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยพ.ศ. 2555 | สำหรับผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและ ระงับอัคคีภัยภายในสถานประกอบกิจการ |
22. วิธีการแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขณะขนถ่าย เคลื่อนย้าย หรือขนส่งสารเคมีอันตราย | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 | สำหรับลูกจ้างที่ทำการขนถ่าย เคลื่อนย้าย และขนส่งสารเคมีอันตราย อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง |
23. การควบคุมและระงับเหตุอันตรายกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 | สำหรับลูกจ้างที่มีหน้าที่ควบคุมและระงับ เหตุอันตราย โดยอบรมและทบทวนอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง |